จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (e-Mail)
เรียบเรียงโดย................. น.ส.ประภาพร คงวัดใหม่
เรียบเรียงโดย................. น.ส.ประภาพร คงวัดใหม่
1. อธิบายความหมาย
บอกคุณลักษณะ ประโยชน์ ข้อดี ข้อจำกัด
ตอบ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) คือ
การส่งข้อความหรือข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ
ผ่านทางคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเหมือนกับการส่งจดหมาย
แต่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์
โดยเปลี่ยนการนำส่งจดหมายจากบุรุษไปรษณีย์มาเป็นโปรแกรม
และเปลี่ยนจากการใช้เส้นทางจราจรคมนาคมทั่วไปมาเป็นช่องสัญญาณรูปแบบต่างๆ
ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตรงเข้ามาสู่ Mail Box ที่ถูกจัดสรรใน Server
ของผู้รับปลายทางทันที
ประโยชน์ ข้อดีและข้อจำกัดของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ ข้อดีของอีเมล์
• ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
มากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยประเภทอื่นๆ
เนื่องจากสามารถรับหรือส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
•สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย
เช่น ข้อมูลตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
• ไม่จำกัดเวลา
ระยะทาง หรือสถานที่ในการติดต่อสื่อสารผู้ใช้สามารถเลือกใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาและสถานที่ใดก็ได้เพียงแต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งหรือรับข้อมูลนั้น
• ไม่จำเป็นต้องเปิดหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรอรับข้อมูล
เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์เมื่อผู้ใช้ต้องการดูข้อมูลก็เพียงเชื่อมโยงไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้น
• ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในการติดต่อสื่อสาร
ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดิม
• สามารถส่งเมล์ไปหาผู้รับได้หลายคนพร้อมๆ
กัน ในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นข้อมูลเดียวกัน เช่น
ข้อมูลแจ้งกำหนดการประชุม กฎระเบียบในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์
ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้ทีละหลายๆ คนในครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปทีละคน
• เก็บข้อมูลที่ส่งได้ตามความต้องการ
โดยอาจเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นๆ
หรือดาวน์โหลดมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
• ข้อมูลที่ได้มีความเป็นส่วนตัว
เนื่องจากผู้ใช้จะมีรหัสส่วนตัวในการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
• ผู้รับสามารถนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขหรือนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อได้
ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลนั้นใหม่
โดยข้อมูลที่ได้รับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์
• มีการแจ้งรายละเอียดและบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้
เช่น จำนวนข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลใดที่เปิดใช้งานแล้วหรือยังไม่ได้เปิดใช้งาน
ใครเป็นผู้ส่ง และส่งข้อมูลมาในเวลาใด
ข้อจำกัดของอีเมล์
- อีเล็คโทรนิคไม่รู้จักอลุ่มอล่วย
อย่างการส่งจดหมายของราชการถ้าส่งหลัง16.30
น.มันจะไม่ยอมรับว่าเป็นวันนั้น การออกเลข และการรับเลขมันจะบอกว่าเป็นวันรุ่งขึ้น
- เวลาระบบล่ม รับ - ส่งเมล์ไม่ได้ เรื่องที่ควรจะเร็วกลับช้า
-ไฟล์ใหญ่ ข้อความยาว
ๆ มีเอกสารแนบเยอะ ๆ ส่งง่าย
รับยาก
2. แทรกตัวอย่างรูปภาพ หรือ แทรกวิดีโอ ในหัวข้อที่ได้
วิธีการสมัคร e-mail http://www.youtube.com/watch?v=sYH8VBdB5cQ
ที่มาของวิดีโอ Prai Boonnok เผยแพร่เมื่อ 26 พ.ย. 2010 สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 เม.ย. 2014 ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=sYH8VBdB5cQ
ที่มาของวิดีโอ Prai Boonnok เผยแพร่เมื่อ 26 พ.ย. 2010 สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 เม.ย. 2014 ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=sYH8VBdB5cQ
ขั้นตอนการสมัคร E-mail ของ Gmail
เข้าไปที่ http://mail.google.com หรือ http://www.gmail.com
เมื่อกดยืนยันแล้วจะ บางครั้งให้ยืนยันบัญชี ก็ทำตามขั้นตอน
เมื่อผ่านแล้วจะมีข้อความยินดีต้อนรับเข้าสู Gmail
ที่มาของรูปภาพ: ครูตุ๊ออนไลน์ ไม่ระบุวันเผยแพร่ สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2014 ที่มา http://krutu2011.wordpress.com/email/
3. ท่านจะประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน หรือ ชีวิตประจำวัน หรือ ในหน่วยงาน องค์กรได้อย่างไร
3. ท่านจะประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน หรือ ชีวิตประจำวัน หรือ ในหน่วยงาน องค์กรได้อย่างไร
ตอบ สามารถนำ e-mail ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. ใช้ติดต่อสื่อสารกับนักเรียนได้ตลอดเวลา
โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เช่น สามารถ
2. พูดคุยตอบโต้กันได้ ผ่านระบบ Chat Online, Video Chat
3. ใช้ e-mail สั่งการบ้านหรืองานผ่านทาง e-mail
4. ใช้ e-mail เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนได้
เช่น การทำใบความรู้แก่นักเรียน ส่งให้นักเรียนแต่ละคนผ่าน e-mail เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองได้ โดยไม่จำกัด
การเรียนรู้แค่ในห้องเรียนเท่านั้น
และนักเรียนสามารถส่งงานกลับมาได้ผ่านทาง e-mail สร้างความสะดวกรวดเร็วในการเรียนการสอน
สามารถนำ e-mail ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
หรือ ในหน่วยงาน องค์กรได้ดังนี้
1. ใช้ติดต่อสื่อสารกับผู้บริหารโรงเรียน
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียน เพื่อแจ้งข้อมูล
ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น ใช้ติดต่อนัดหมายการ ประชุม
แจ้งรายชื่อผู้เข้าประชุม วัน เวลา สถานที่ หรือการส่ง e-mail เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการเรียนการสอนกับเพื่อนครูภายในกลุ่มสาระ
2. ใช้ติดต่อสื่อสารกับนักเรียนที่สอน
หรือนักเรียนประจำชั้น แจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากทางโรงเรียนแก่นักเรียน เช่น
แจ้งกำหนดการเรียนการสอน เนื้อหาบทเรียน การปิด-เปิดภาค เรียน, แจ้งกำหนดการ การฟังผลสอบ,
แก้ 0, ร, มส, การเรียนซ้ำ แก่นักเรียนได้
3. ใช้ e-mail ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองของนักเรียน
เพื่อรับทราบถึงพฤติกรรมของนักเรียนได้
4. ระบุข้อเสนอแนะ
ติ ชม ทุก ๆ ด้าน จากการอบรมของ ดร.ชัชญาภา วัฒนธรรม
ตอบ จากการที่ได้อบรมกับอาจารย์ในครั้งนี้ ได้รับความรู้มากมาย
ในหลายเรื่องที่ดิฉันไม่เคยรู้มาก่อน เช่น วิธีการสร้าง blog ซึ่ง
ดิฉันคิดว่าจะนำความรู้ที่ได้รับในการอบรมครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอน
ดิฉันจะไปสร้าง blog บทเรียนออนไลน์ในวิชาที่สอนอยู่
และเมื่อได้สร้าง blog บทเรียนออนไลน์แล้ว
ก็จะนำไปทำเป็งานวิจัยในห้องเรียนต่อไป ขอขอบคุณอาจารย์ ดร.ชัชญาภา มานะคะ
ที่มอบความรู้ในการอบรมในครั้งนี้แก่ดิฉัน
บรรณานุกรม
Prai Boonnok เผยแพร่เมื่อ 26 พ.ย. 2010 สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 เม.ย. 2014 ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=sYH8VBdB5cQ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น