วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

การเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project-based Learning)

(17 เม.ย. 57) อาจารย์ ดร.เจนศึก โพธิศาสตร์)
เรียบเรียงโดย .................. ประภาพร คงวัดใหม่
ารเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project-based Learning)
การเรียนรู้ด้วยโครงงาน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น ให้นักเรียนมีผลงานจากโครงการออกมา โดยครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ความรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวก หรือผู้ให้คำแนะนำให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยโครงงาน สิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ด้วย PBL เป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิตและประกอบอาชีพ ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารและเทคโนโลยี การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร และทักษะการสร้างความร่วมมือ ประโยชน์ที่ได้สำหรับครูที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนด้วย 
องค์ประกอบพื้นฐานในโครงการแต่ละโครงการนั้นควรจะมีดังนี้
1. ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อแก้ไขปัญหา หรือ สนองวัตถุประสงค์หลัก ที่กำหนดไว้
2. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจน และเรียกเหมือนเดิมทุกครั้ง จนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ
3. หลักการและเหตุผล ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่ต้อง มีโครงการนี้
4. วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมี ความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น วัตถุประสงค์นี้จะต้องมีความชัดเจน ปฏิบัติได้ สามารถวัดและประเมินผลได้
5. เป้าหมาย เป็นการระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด โดยพยายาม แสดงให้ปรากฏ เป็นรูปตัวเลข หรือจำนวนที่จะทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
6. วิธีดำเนินการ งานหรือภารกิจที่จะต้องดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุ ประสงค์ในระยะเตรียมโครงการจะต้องรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้วนำมาจัดลำดับว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง หรือ พร้อมๆกัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ จนถึงขั้นสุดท้ายที่ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ (ทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร ทำกับใคร ทำเมื่อไหร่)
7. ระยะเวลาการดำเนินโครงการ จะระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ
8. งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนก รายการค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ หมายถึง หน่วยงานระดับ กอง กรม หรือ เอกชน
10. พื้นที่ดำเนินการ ซึ่งอาจจะมีระบุไว้ได้มากกว่า 1 พื้นที่ ในจังหวัด อำเภอ หรือหน่วยงานใด เป็นต้น
11. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนและประสานงาน
12. การประเมินผล จะระบุแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไร ในระยะเวลาใด และใช้วิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสม
13. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้ว หากไม่มีอุปสรรค ปัญหาใด ๆ สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นคืออะไร และผลกระทบควรจะเป็นประการใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น