วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

สรุปสาระสำคัญ สื่อการสอน ASSURE และโปรแกรม IPPT

(21 เม.. 57) โดย ผศ.ประเสริฐ แซ่เอี๊ยบ
สรุปสาระสำคัญ
สื่อการสอน
                     การจำแนกสื่อการสอน มี 3 ประเภท คือ สื่อประเภทวัสดุ สื่อประเภทอุปกรณ์ สื่อประเภทเทคนิควิธีการ
การวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการสอน (ASSURE)
A nalyze Learner Characteristics   การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
S tate Objectives        การกําหนดวัตถุประสงค์
S elect, Modify , or Design Materials  การเลือก    ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่
U tilize Materials       การใช้สื่อ
R equire Learner Response        การกําหนดการตอบสนองของผู้เรียน
E valuation               การประเมิน
- ทำงานกลุ่ม เรื่อง การวิเคราะห์ข่าว/บทความ แบบ Assure และรายงานหน้าชั้นเรียน
บทเรียนโปรแกรม
1. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉง
2. ให้ผลย้อนกลับทันที
3. ประเมินทีละน้อย
4. ให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ แห่งความสำเร็จ
       - ทำงานกลุ่ม สร้างบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้โปรแกรม IPPT เรื่อง ประเภทของเครื่องดนตรี

 
 

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

สรุปสาระสำคัญ ทดลองสร้าง Web Quest เรื่อง จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (e-Mail)

(20 เม.ย.57) ตอนเช้า   โดย ว่าที่ร้อยตรีหญิง ดร.ชัชญาภา
 สรุปสาระสำคัญ
ทดลองสร้าง Web Quest เรื่อง จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (e-Mail)
http://prapaporntien.blogspot.com/2014/04/e-mail-1.html

ตอนบ่าย โดย ผศ.ประเสริฐ แซ่เอี๊ยบ
ทำแบบทดสอบก่อนเรียน  
1. นวัตกรรมเกิดมาจากสาเหตุใดได้บ้าง
2. บุคคลหรือกลุ่มคนใดที่ทำให้เกิดนวัตกรรม
3. นวัตกรรมสิ้นสภาพได้หรือไม่ อย่างไร
           ผลจากการใช้นวัตกรรม มี 3
1. ประสิทธิภาพ
2. ประสิทธิผล
3. ประหยัด
นวัตกรรมการศึกษา เกิดจากแนวคิดพื้นฐาน 4 ประการ
          1. แนวคิดในด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ด้านสังคม
          2. แนวคิดด้านความพร้อม
กฎแห่งความพร้อม
1. พร้อม è ได้เรียนรู้ èพอใจ èการเรียนรู้
2. ไม่พร้อม è ได้เรียน è ไม่พอใจ è ไม่เรียนรู้
3. พร้อม è ไม่ได้เรียน è ไม่พอใจ è ไม่เรียนรู้
4. ไม่พร้อม èไม่ได้เรียน èèพอใจ è ไม่เรียนรู้
การเกิดนวัตกรรมการศึกษา
หลังจากการเกิดนวัตกรรมแล้วนั้น จะเป็นที่ยอมรับหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับบุคคลสำคัญ 3 ฝ่าย คือ
1. นวัตกร
2. ผู้นำ
3. ผู้ต่อต้าน
การยอมรับนวัตกรรม มีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นรับรู้
2. ขั้นสนใจ
3. ขั้นประเมินค่า
4. ขั้นทดลอง
5. ขั้นยอมรับ
6. ขั้นบูรณาการ
การสิ้นสภาพของนวัตกรรม
   1. ยอมรับ è เทคโนโลยี
   2. ไม่ยอมรับ è ล้าสมัย หมดความนิยม

 

สรุปสาระสำคัญ เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์แบบ Web Quest เรื่อง Past Simple Tense

(19 เม.ย. 57 )     โดย ว่าที่ร้อยตรีหญิง ดร.ชัชญาภา
สรุปสาระสำคัญ
เรื่อง การสร้างบทเรียนออนไลน์แบบ Web Quest
 ทดลองสร้างบทเรียนออนไลน์แบบ Web Quest เรื่อง Past Simple Tense http://prapaporntien.blogspot.com/2014/04/past-simple-tense.html

สรุปสาระสำคัญ เรื่องการใช้ Blog ในการเรียนการสอน (แบบ Web Quest)

(18 เม.ย.57) โดย ว่าที่ร้อยตรีหญิง ดร.ชัชญาภา
สรุปสาระสำคัญ
                      เรื่องการใช้ Blog ในการเรียนการสอน (แบบ Web Quest)
    ใบงานที่ 2 ออกแบบบทเรียนออนไลน์แบบเว็บเควสท์
      ให้ทุกคนออกแบบบทเรียนออนไลน์แบบเว็บเควสท์ คนละ 1 เรื่อง ตามขั้นตอนที่ระบุ
    ตัวอย่าง ขั้นตอนในการสร้างเว็บเควสท์
1. ขั้นนำ (Introduction)
    เป็นส่วนที่กำหนดขั้นตอนและให้ความรู้พื้นฐาน
2. ภาระงาน (Task)
    เป็นส่วนที่กำหนดว่าให้ผู้เรียนทำอะไร
3. กระบวนการเรียน (Learning Process)
   เป็นส่วนที่กำหนดให้ผู้เรียนกระทำตามขั้นตอนที่กำหนดเพื่อเข้าสู่วัตถุประสงค์ของงานหนึ่งๆ ที่มีคำอธิบายเป็นขั้นตอนตามลำดับ
4. แหล่งเรียนรู้ (Resource)
   เป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้เรียนทำงานที่กำหนดสำเร็จสมบูรณ์ ซึ่งแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ในเอกสารเดียวกัน อาจหมายถึงเอกสารบนเว็บต่างๆ หรือ URL ที่เกี่ยวข้อง e-Mail ของผู้ชำนาญการในเรื่องนั้นๆ ฐานข้อมูลที่สามารถเข้าสืบค้นได้บนเว็บ
5. ประเมินผล (Evaluation)
    เป็นส่วนที่กำหนดขึ้นเพื่อประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ (Scoring Rubric)
    ตัวอย่าง การสร้างเกณฑ์การประเมิน Rubric
 6. สรุป (Conclusion)
    เป็นส่วนที่ทำให้ผู้เรียนรู้ว่าได้รับรู้อะไร และสามารถช่วยทำให้ผู้เรียนขยายผลการเรียนรู้ของตนเองออกไป

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (e-Mail)

จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (e-Mail)
เรียบเรียงโดย................. น.ส.ประภาพร คงวัดใหม่
1. อธิบายความหมาย บอกคุณลักษณะ ประโยชน์ ข้อดี ข้อจำกัด
ตอบ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) คือ การส่งข้อความหรือข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเหมือนกับการส่งจดหมาย แต่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปลี่ยนการนำส่งจดหมายจากบุรุษไปรษณีย์มาเป็นโปรแกรม และเปลี่ยนจากการใช้เส้นทางจราจรคมนาคมทั่วไปมาเป็นช่องสัญญาณรูปแบบต่างๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตรงเข้ามาสู่ Mail Box ที่ถูกจัดสรรใน Server ของผู้รับปลายทางทันที   

ประโยชน์ ข้อดีและข้อจำกัดของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ ข้อดีของอีเมล์
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย มากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยประเภทอื่นๆ เนื่องจากสามารถรับหรือส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
ไม่จำกัดเวลา ระยะทาง หรือสถานที่ในการติดต่อสื่อสารผู้ใช้สามารถเลือกใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาและสถานที่ใดก็ได้เพียงแต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งหรือรับข้อมูลนั้น
ไม่จำเป็นต้องเปิดหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรอรับข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์เมื่อผู้ใช้ต้องการดูข้อมูลก็เพียงเชื่อมโยงไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้น
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในการติดต่อสื่อสาร ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดิม
สามารถส่งเมล์ไปหาผู้รับได้หลายคนพร้อมๆ กัน ในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นข้อมูลเดียวกัน เช่น ข้อมูลแจ้งกำหนดการประชุม กฎระเบียบในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้ทีละหลายๆ คนในครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปทีละคน
เก็บข้อมูลที่ส่งได้ตามความต้องการ โดยอาจเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นๆ หรือดาวน์โหลดมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
ข้อมูลที่ได้มีความเป็นส่วนตัว เนื่องจากผู้ใช้จะมีรหัสส่วนตัวในการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ผู้รับสามารถนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขหรือนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อได้ ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลนั้นใหม่
โดยข้อมูลที่ได้รับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาจัดทำในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์
มีการแจ้งรายละเอียดและบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น จำนวนข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลใดที่เปิดใช้งานแล้วหรือยังไม่ได้เปิดใช้งาน ใครเป็นผู้ส่ง และส่งข้อมูลมาในเวลาใด
ข้อจำกัดของอีเมล์
     - อีเล็คโทรนิคไม่รู้จักอลุ่มอล่วย  อย่างการส่งจดหมายของราชการถ้าส่งหลัง16.30 น.มันจะไม่ยอมรับว่าเป็นวันนั้น  การออกเลข  และการรับเลขมันจะบอกว่าเป็นวันรุ่งขึ้น               
    - เวลาระบบล่ม  รับ - ส่งเมล์ไม่ได้  เรื่องที่ควรจะเร็วกลับช้า                                       
    -ไฟล์ใหญ่  ข้อความยาว  ๆ มีเอกสารแนบเยอะ ๆ ส่งง่าย  รับยาก
2. แทรกตัวอย่างรูปภาพ หรือ แทรกวิดีโอ ในหัวข้อที่ได้

วิธีการสมัคร e-mail     http://www.youtube.com/watch?v=sYH8VBdB5cQ 
ที่มาของวิดีโอ Prai Boonnok เผยแพร่เมื่อ 26 พ.ย. 2010  สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 เม.ย. 2014 ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=sYH8VBdB5cQ

ขั้นตอนการสมัคร E-mail ของ Gmail
เข้าไปที่  http://mail.google.com  หรือ http://www.gmail.com
เมื่อกดยืนยันแล้วจะ บางครั้งให้ยืนยันบัญชี ก็ทำตามขั้นตอน
เมื่อผ่านแล้วจะมีข้อความยินดีต้อนรับเข้าสู Gmail
ที่มาของรูปภาพ: ครูตุ๊ออนไลน์ ไม่ระบุวันเผยแพร่  สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2014 ที่มา  http://krutu2011.wordpress.com/email/
3. ท่านจะประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน หรือ ชีวิตประจำวัน หรือ ในหน่วยงาน องค์กรได้อย่างไร
ตอบ สามารถนำ e-mail ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1.      ใช้ติดต่อสื่อสารกับนักเรียนได้ตลอดเวลา โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ เช่น สามารถ
2.      พูดคุยตอบโต้กันได้ ผ่านระบบ Chat Online, Video Chat
3.      ใช้ e-mail สั่งการบ้านหรืองานผ่านทาง e-mail
4.      ใช้ e-mail เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนได้ เช่น การทำใบความรู้แก่นักเรียน ส่งให้นักเรียนแต่ละคนผ่าน e-mail เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองได้ โดยไม่จำกัด
การเรียนรู้แค่ในห้องเรียนเท่านั้น และนักเรียนสามารถส่งงานกลับมาได้ผ่านทาง e-mail สร้างความสะดวกรวดเร็วในการเรียนการสอน
สามารถนำ e-mail ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือ ในหน่วยงาน องค์กรได้ดังนี้
1.    ใช้ติดต่อสื่อสารกับผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียน เพื่อแจ้งข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น ใช้ติดต่อนัดหมายการ ประชุม แจ้งรายชื่อผู้เข้าประชุม วัน เวลา สถานที่ หรือการส่ง e-mail เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการเรียนการสอนกับเพื่อนครูภายในกลุ่มสาระ
2.    ใช้ติดต่อสื่อสารกับนักเรียนที่สอน หรือนักเรียนประจำชั้น แจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากทางโรงเรียนแก่นักเรียน เช่น แจ้งกำหนดการเรียนการสอน เนื้อหาบทเรียน การปิด-เปิดภาค  เรียน, แจ้งกำหนดการ การฟังผลสอบ, แก้ 0, , มส, การเรียนซ้ำ แก่นักเรียนได้
3.    ใช้ e-mail ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองของนักเรียน เพื่อรับทราบถึงพฤติกรรมของนักเรียนได้

4. ระบุข้อเสนอแนะ ติ ชม ทุก ๆ ด้าน จากการอบรมของ ดร.ชัชญาภา วัฒนธรรม
ตอบ จากการที่ได้อบรมกับอาจารย์ในครั้งนี้ ได้รับความรู้มากมาย ในหลายเรื่องที่ดิฉันไม่เคยรู้มาก่อน เช่น วิธีการสร้าง blog ซึ่ง ดิฉันคิดว่าจะนำความรู้ที่ได้รับในการอบรมครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอน ดิฉันจะไปสร้าง blog บทเรียนออนไลน์ในวิชาที่สอนอยู่ และเมื่อได้สร้าง blog บทเรียนออนไลน์แล้ว ก็จะนำไปทำเป็งานวิจัยในห้องเรียนต่อไป ขอขอบคุณอาจารย์ ดร.ชัชญาภา มานะคะ ที่มอบความรู้ในการอบรมในครั้งนี้แก่ดิฉัน

บรรณานุกรม
 Prai Boonnok เผยแพร่เมื่อ 26 พ.ย. 2010  สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 เม.ย. 2014 ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=sYH8VBdB5cQ

    ครูตุ๊ออนไลน์ ไม่ระบุวันเผยแพร่  สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2014 ที่มา  http://krutu2011.wordpress.com/email/

          

หลักการใช้ Past Simple Tense



ขั้นนำ (Introduction)

                                      
                                              
                  อต้อนรับเข้าสู่ Web Quest ของวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เนื่องจากไวยากรณ์ภาษาอังกฤษมีการแบ่งแยกการบอกเวลา หรือกาล (Tense) ซึ่งการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน นักเรียนต้องมีความรู้ที่จะนำมาใช้เพื่อให้เกิดทักษะดังกล่าว ในบทเรียนนี้นักเรียนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่อง Past Simple Tense 

ภาระงาน (Task) 
                  
                  1. ให้นักเรียนศึกษาหลักการใช้ Past Simple Tense จากใบงาน แล้วตอบคำถามท้ายบท 
                  2. ให้นักเรียนเขียนเรื่องความประทับใจในอดีต ลงในกระดาษ A4 โดยใช้ Past Simple Tense ความยาว 20 ประโยค                            
                  3. พูดนำเสนอเรื่องความประทับใจในอดีตหน้าชั้นเรียน 
                                
กระบวนการเรียน (Learning Process) 

                  1. นักเรียนศึกษาหลักการใช้ Past Simple Tense จากแหล่งเรียนรู้  และใบงาน แล้วทำแบบฝึกหัดท้ายบท
                  2. นักเรียนเขียนเรื่องที่ประทับใจในอดีต ลงในกระดาษ A4 โดยใช้ Past Simple Tense ความยาว 20 ประโยค 
                  3. พูดนำเสนอเรื่องประทับใจในอดีตที่นักเรียนเขียนหน้าชั้นเรียน
              
แหล่งเรียนรู้ (Resource) 

การใช้ Past Simple Tense http://www.engjang.com/article/topic-34952.html

ใบงานเรื่อง Past Simple Tense  http://www.mu.ac.th/e-QuizMarie/html/1122/English.htm

แบบฝึกหัดเพิ่มเติม  Past Simple Tense  

ประเมินผล (Evaluation)
เกณฑ์การประเมินทักษะการเขียน

ระดับคะแนน
ลักษณะของงาน
8-10
เขียนได้ตรงประเด็นและชัดเจน มีคำนำ เนื้อหา และบทสรุปอย่างชัดเจน ตัวสะกดและไวยากรณ์มีความถูกต้องสมบูรณ์ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย มีแนวคิดที่น่าสนใจ มีเหตุผลใช้ภาษาสละสลวย เลือกใช้คำศัพท์ได้อย่างถูกต้อง
6-7
เขียนได้ตรงตามประเด็นตามที่กำหนดไว้ มีคำนำ เนื้อหา และบทสรุปภาษาที่ใช้ทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสน เหตุผลยังไม่สอดคล้องกัน เลือกใช้คำศัพท์ส่วนใหญ่ได้ถูกต้อง
5
เขียนได้ตรงตามประเด็นตามที่กำหนดไว้บ้าง มีคำนำ เนื้อหา และบทสรุป เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เลือกใช้คำศัพท์ถูกต้องได้บ้าง
1-4
เขียนไม่ตรงประเด็น ไม่มีการจัดระบบการเขียน เช่นคำนำ เนื้อหา และบทสรุป ภาษาที่ใช้ทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสน ขาดเหตุผลสนับสนุนใช้ศัพท์ที่เหมาะสม

                    8-10     คะแนน      หมายถึง     ดีมาก
                    6-7     คะแนน        หมายถึง     ดี
                    5       คะแนน         หมายถึง     พอใช้
                    1-4     คะแนน        หมายถึง     ต้องปรับปรุง


กณฑ์การประเมินทักษะการพูด

ระดับคะแนน
ลักษณะของงาน
8-10
ออกเสียงคำศัพท์และประโยคได้ถูกต้องตามหลักการออกเสียง ออกเสียงเน้นหนักในคำ/ประโยคอย่างสมบูรณ์ พูดต่อเนื่องไม่ติดขัด พูดชัดเจนทำให้สื่อสารได้ แสดงท่าทางและพูดด้วยน้ำเสียงเหมาะสมกับบทบรรยาย
6-7
ออกเสียงคำศัพท์และประโยคได้ถูกต้องตามหลักการออกเสียงมีเสียงเน้นหนักในคำ/ประโยคเป็นส่วนใหญ่  พูดตะกุกตะกักบ้าง แต่ยังพอสื่อสารได้ พูดด้วยน้ำเสียงเหมาะสมกับบทบรรยายแต่ไม่มีท่าทางประกอบ
5
ออกเสียงคำศัพท์และประโยคได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ขาดการออกเสียงเน้นหนักพูดเป็นคำๆ หยุดเป็นช่วงๆเพื่อทำให้สื่อสารได้ไม่ชัดเจนพูดเหมือนอ่านไม่เป็นธรรมชาติขาดความน่าสนใจ
1-4
ออกเสียงคำ/ประโยคผิดหลักการออกเสียงทำให้สื่อสารไม่ได้ พูดได้บางคำทำให้สื่อความหมายไม่ได้ พูดได้น้อยมาก
           
                8-10   คะแนน      หมายถึง      ดีมาก
                6-7    คะแนน      หมายถึง       ดี
                5       คะแนน      หมายถึง       พอใช้
                1-4    คะแนน      หมายถึง       ต้องปรับปรุง

สรุป (Conclusion)

                 จากการที่นักเรียนได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ Past Simple Tense และได้ทำกิจกรรมดังกล่าวนักเรียนจะพบว่าเราสามารถนำ Past Simple Tense มาประยุุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งการพูด การฟัง และการเขียน ซึงหากนักเรียนมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดทักษะในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน